เมืองลำปางเป็นบ้านที่มีความสุขของทุกคน " A Happy Home For All "
อังคารที่ 18 มกราคม 2565 ดร.นิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง มอบหมายให้ นายสุรพล ตันสุวรรณ รองนายเทศมนตรีนครลำปาง พร้อมด้วย นางสาวอมลยา เจนตวนิชย์ สมาชิกสภาเทศบาลนครลำปาง เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรม Lampang Study ณ อาคารหอประชุมชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง โดยภายในเวทีดังกล่าว มีการกำหนดขอบเขตเนื้อหาความรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรม จังหวัดลำปาง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ได้แก่ ประเด็นภูมิหลัง นำเสนอในรูปแบบ Timeline + MAP เน้นเรื่องของยุค ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สถานที่ตั้งและการปรับเปลี่ยน โยกย้าย หรือการขยายตัวของเมือง ในยุคสมัยต่าง ๆ ย่าน พัฒนาการและย่านเมืองสำคัญของลำปาง รวมถึงภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์
- ประเด็นภูมิวงค์ เน้นเรื่อง บุคคล นำเสนอในรูปแบบ Timeline บุคคลสำคัญในประวัติศาตร์ และบุคคลสำคัญที่สร้างคุณค่า เช่น พระนางจามเทวี พ่อเจ้าทิพย์ช้าง ฯลฯ ตลอดจนตระกูลที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมลำปาง นำเสนอในรูปแบบผัง Mapping เช่น เจ้านายลำปาง ขุนนางท้องถิ่น ชนชั้นปกครองจากส่วนกลาง ชนชั้นพื้นถิ่น ฯลฯ
- ประเด็นภูมิธรรม นำเสนอในรูปแบบ Timeline เน้นในเรื่องของศาสนา ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม ปราชญ์ และบทกวี รวมถึงศาสนสถาน เป็นต้น
- ประเด็นภูมิปัญญา นำเสนอในรูปแบบ Timeline เน้นเรื่อง อาหารพื้นถิ่น และกลุ่มชาติพันธ์ เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ภาษา วรรณกรรม งานศิลปะ เครื่องมือเครื่องใช้ ภูมิปัญญาอัตลักษณ์พื้นที่ ฯลฯ
- และประเด็นภูมิเมือง นำเสนอในรูปแบบ Timeline บทวิเคราะห์ ฐานข้อมูล MAP บรรณานุกรม โดยเน้นภาพสถานการณ์ในช่วงระยะเวลาเกือบ 100 ปีที่ผ่านมาของเมืองลำปาง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2427 – ปัจจุบัน บริบทจังหวัดลำปางในปัจจุบัน และฐานข้อมูล 13 อำเภอ เป็นต้น
ทั้งนี้ ในที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าจะต้องรักษา รื้อฟื้น ขุดค้น และชำระประวัติศาสตร์เมืองลำปาง โดยเริ่มจากการชำระเอกสารเก่าก่อน เนื่องจากเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถอ้างอิงได้และเห็นควรดำเนินการในเรื่องเหล่านี้อย่างต่อเนื่องต่อไป.