เมืองลำปางเป็นบ้านที่มีความสุขของทุกคน " A Happy Home For All "

ศูนย์รวมข้อมูล
ติดต่อสอบถาม 054-237237
การบริหารงาน/วิสัยทัศน์
  • นายกเทศมนตรีนครลำปาง พร้อมคณะผู้บริหาร
  • วิสัยทัศน์
  • อำนาจหน้าที่
  • พันธกิจ
  • นโยบาย
  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครลำปาง
  • ภาพโครงสร้างการบริหารงาน
  • หัวหน้าส่วนราชการ
นายกเทศมนตรีนครลำปาง พร้อมคณะผู้บริหาร

วิสัยทัศน์

 

เมืองลำปางเป็นบ้านที่มีความสุขของทุกคน
A HAPPY HOME FOR ALL

อำนาจหน้าที่

ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และแก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๖๒) เทศบาลนคร

ลำปาง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังนี้

1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

2. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ

3. รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง

6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม

7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

9. ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา

10. ให้มีโรงฆ่าสัตว์

11. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้

12. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ

13. ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ

14. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

15. ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น

16. ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก

17. กิจการอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข

18. การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่น

19. จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม

20. จัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

21. การวางผังเมือง และการควบคุมการก่อสร้าง

22. การส่งเสริมกิจการการท่องเที่ยว นอกจากนี้ เทศบาลนคร อาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาลได้ ดังนี้

      1) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม

      2) ให้มีสุสาน และฌาปนสถาน

      3) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร

      4) ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก

      5) ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล

      6) ให้มีการสาธารณูปการ

      7 ) จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข

      8) จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา

      9) ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา

    10) ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

    11) ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมและรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น

    12) เทศพาณิชย์

 

พันธกิจ

                1) ฟื้นฟูแม่น้ำวังให้สะอาด สวยงาม เพื่อพัฒนาไปสู่ “นครลำปาง เมืองสิ่งแวดล้อมดี” 

                2) ปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมืองเพื่อพัฒนาไปสู่ “นครลำปาง เมืองต้นไม้ ดอกไม้งาม” 

                3) เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะของเมือง เพื่อพัฒนาไปสู่ “นครลำปาง เมืองสะอาดปราศจากขยะ” 

                4)  พัฒนาสภาพแวดล้อมของเมืองเพื่อพัฒนาไปสู่ “นครลำปาง เมืองแห่งชีวิตสาธารณะ” 

                5) เพิ่มประสิทธิภาพระบบเฝ้าระวังและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อพัฒนาไปสู่ “นครลำปาง เมืองปลอดภัย”

                6) พัฒนาสภาพแวดล้อมและปรับภูมิทัศน์ย่านเศรษฐกิจและท่องเที่ยวของเมือง เพื่อพัฒนาไปสู่ “นครลำปาง เมืองน่าเดิน” 

                7) พัฒนารูปแบบและกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมและอัตลักษณ์วิถี เพื่อพัฒนาไปสู่ “นครลำปาง เมืองเทศกาลและวัฒนธรรม”

               8) ส่งเสริมสุขภาพ กีฬาและนันทนาการเพื่อพัฒนาไปสู่ “นครลำปาง เมืองกีฬา”

               9) จัดการความรู้และพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาไปสู่ “นครลำปาง เมืองที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม” 

            10) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและโครงข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการเมืองไปสู่ “นครลำปาง เมืองวิถีดิจิทัล” 

            11) พัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชนเข้มแข็งเพื่อพัฒนาไปสู่ “นครลำปาง เมืองของคนทุกวัยทุกคน”

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครลำปาง

ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครลำปาง (พ.ศ. 2566 -2570)

  1. ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบนิเวศของเมืองเพื่อไปสู่เมืองน่าอยู่ (Livable City)
  2. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยเพื่อไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้และคนคุณภาพ (City of learning and quality people)
  3. ยุทธศาสตร์ยกระดับขีดความสามารถด้านดิจิทัลและนวัตกรรมในการบริหารจัดการองค์กรดิจิทัลเพื่อไปสู่เมืองแห่งนวัตกรรมและดิจิทัล (Innovative and Digital City)
  4. ยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์จากฐานทุนทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อไปสู่เมืองแห่งวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Cultural and Creative Economy City)
  5. ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจฐานรากและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเพื่อไปสู่เมืองแห่งความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน (A Stable Prosperous and Sustainable City)

 

ภาพโครงสร้างการบริหารงาน

 

 

หัวหน้าส่วนราชการ

- ปรับปรุง -