เมืองลำปางเป็นบ้านที่มีความสุขของทุกคน " A Happy Home For All "

ศูนย์รวมข้อมูล
ติดต่อสอบถาม 054-237237
ข้อมูลทั่วไป
  • ความเป็นมา
  • ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
  • เศรษฐกิจและสังคม
  • ภูมิศาสตร์
  • การปกครองส่วนท้องถิ่น
  • การศึกษา
  • ประชากร
  • งบประมาณ
  • การจัดการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  • สถานที่สำคัญ
  • ข้อมูลตลาด
ความเป็นมา

เทศบาลนครลำปาง เดิมเป็นสุขาภิบาลเมืองลำปาง ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาล ตามพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองลำปาง ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2478 มีพื้นที่ 10.86 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล คือ ตำบลสวนดอก ตำบลเวียงเหนือ ตำบลหัวเวียง ตำบลสบตุ๋ย เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ได้มีพระราชกฤษฏีกาเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ การปกครองของเทศบาลเมืองลำปางใหม่ได้ขยายอาณาบริเวณของเทศบาลเพิ่มขึ้นอีก 11.31 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 22.17 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่ตำบลเพิ่มอีก 4 ตำบล คือ ตำบลบ่อแฮ้ว 1.16  ตารางกิโลเมตร ตำบลชมพู 3.80 ตารางกิโลเมตร ตำบลพระบาท 6.13 ตารางกิโลเมตร และตำบลพิชัย 0.22 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 10 พฤษจิกายน พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชกฤษฏีกาเปลี่ยนแปลงเทศบาลเมืองลำปาง จัดตั้งเป็นเทศบาลนครลำปาง (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฏีกา เล่ม 116 ตอนที่ 10 ก.) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พศ 2542 เป็นต้นไป ครอบคลุมพื้นที่อาณาบริเวณ 8 ตำบล คือ 4 ตำบลเดิม และ บางส่วนของตำบลบ่อแฮ่ว บางส่วนของตำบลชมพู บางส่วนของตำบลพระบาท และบาง่วนของตำบลพิชัย รวมทั้งสิ้น 22.17 ตารางกิโลเมตร นับว่าเป็นเทศบาลนครแห่งที่สองของภาคเหนือตอนบนถัดจากเทศบาลนครเชียงใหม่

ตราสัญลักษณ์ของเทศบาลนครลำปางจะใช้ตราไก่ขาว เช่นเดียวกับตรา จังหวัดลำปางที่มาตามตำนานฤาษี 5 พระองค์ได้กล่าวไว้ว่า เดิมเมืองนครลำปางมีชื่อว่า “กุกุฎฏะนคร” แปลว่า เมืองไก่ขาว มีที่มาตามตำนานว่า ในสมัยพุทกาลเมื่อพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้สัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จโปรดสัตว์ผ่านมาทางบริเวณสัมภากัมปาสิณี คือ นครลำปางในปัจจุบัน พระอินทร์ได้ทรงแปลงกายลงมาเป็นไก่ขาว เพื่อเลื่อนให้ชาวเมืองตื่นขึ้นมาบำเพ็ญทาน พระพุทธองค์ทรงทำนายว่าต่อไป เมื่อหน้าบริเวณแห่งนี้จะเป็นนครอันรุ่งเรือง ต่อมาได้มีผู้สร้างเมืองขึ้นบริเวณนี้ และได้ตั้งชื่อเมืองแห่งนี้ว่า “เมืองกุกุฎฏะนคร” ซึ่งแปลว่าเมืองไก่ขาว 

ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ

เทศบาลนครลำปาง ตั้งอยู่เลขที่ 246 ถนนฉัตรไชย ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามระยะทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1 สายพหลโยธินประมาณ 602 กิโลเมตร และทางรถไฟประมาณ 625 กิโลเมตร มีจังหวัดใกล้เคียง 7 จังหวัด ดังนี้

ทิศเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา

ทิศใต้ จังหวัดตาก

ทิศตะวันออก จังหวัดแพร่ และจังหวัดสุโขทัย

ทิศตะวันตก จังหวัดลำพูน

โดยมีพื้นที่ 22.17 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 8 ตำบล ดังนี้

  1. ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2478 มีพื้นที่ 10.86 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลสวนดอก ตำบลเวียงเหนือ ตำบลหัวเวียง และตำบลสบตุ๋ย
  2. วันที่ 24 ตุลาคม 2534 มีพระรราชกฤษฏีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลนครลำปาง ให้ขยายเขตเทศบาลเมืองลำปางเพิ่มขึ้น 11.31 ตารางกิโลเมตร รวมกับพื้นที่ใหม่เป็น 22.17 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 8 ตำบล คือ 4 ตำบลเดิม และบางส่วนของตำบลบ่อแอ้วบางส่วนของตำบลชมพู บางส่วนของตำบลพระบาท และบางส่วนของตำบลพิชัย ดังนี้

 

  พื้นที่ทั้งตำบล (เดิม)

  รวมพื้นที่ (ตร.กม)

  พื้นที่บางส่วนของตำบล (ใหม่)

  รวมพื้นที่ (ตร.กม)

  1. สวนดอก
  2. เวียงเหนือ
  3. หัวเวียง
  4. สบตุ๋ย

   รวม 4 ตำบล 10.86

   1. บ่อแฮ้ว
   2. ชมพู
   3. พระบาท
   4. พิชัย

   1.16
   3.80
   6.13
   0.22

มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 22.17 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดติอกัน

เทศบาลนครลำปาง อยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ และที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของแอ่งกระทะหรือบริเวณ ใจกลางจังหวัดลำปาง ซึ่งสามารถจำแนกพื้นที่ออกเป็น 2 ฝั่ง คือ

  1. ฝั่งซ้าย ประกอบด้วย ตำบลสวนดอก, ตำบลหัวเวียง , ตำบลสบตุ๋ย ,ตำบลชมู , ตำบลพิชัย และตำบลพระบาท
  2. ฝั่งขวา ประกอบด้วย ตำบลเวียงเหนือ และตำบลบ่อแฮ้ว โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบดินตะกอนเก่าและที่ราบดินตะกอนใหม่ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์และมีคุณภาพดี เหมาะแก่การเพาะปลูกอย่างไรก็ตาม ที่ตั้งของเทศบาลนครลำปางอยู่ในเขตใจกลางเมือง หรือมีลักษณะเป็นชุมชนเมือง ดังนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ตั้งของที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ เป็นส่วนใหญ่ และมีเพียงบางส่วนที่อยู่นอกเขตเมืองเป็นพื้นที่เกษตรกรรม อาทิ ตำบลพระบาท ตำบลชมพู เป็นต้น ในเขตเทศบาล

นครลำปางมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๒.๑๗ ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลพิชัย

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลพระบาท แลตำบลพิชัย

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบ่อแฮ้ว และตำบลชมู

ทิศใต้  ติดต่อกับ ตำบลพระบาท

เศรษฐกิจและสังคม

สภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยภาพรวม

สภาพเศรษฐกิจของชุมชนเทศบาลนครลำปาง โดยทั่วไปเป็นการผลิตในสาขาพาณิชยกรรมและบริการ การบริหารอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เนื่องจากชุมชนเทศบาลนครลำปางเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการ ศูนย์กลางพาณิชยกรรม การบริการการท่องเที่ยว และเป็นแหล่งพัฒนาอุตสาหกรรมของจังหวัด โดยมีศูนย์กลางทางการค้าและบริการอยู่ในเขตเทศบาลนครลำปาง 2 แห่ง คือ บริเวณตำบลสบตุ๋ย จะเป็นย่านธุรกิจประเภทค้าส่งสินค้าการเกษตรของใช้เบ็ดเตล็ด และวัสดุก่อสร้าง เป็นย่านการค้าเก่าของเมืองอีกบริเวณคือ บริเวณตำบลสวนดอกและตำบลหัวเวียง เป็นย่านการค้าปลีกใหญ่ของจังหวัด สินค้า มีทั้งของใช้เบ็ดเตล็ด ตลาดสด ตลาดเสื้อผ้า เครื่องนุ้งห่ม รวมทั้งห้างสรรพสินค้า โรงแรม สถานบันเทิง ธนาคาร เป็นย่านการค้าที่มีการขยายตัวค่อนข้างสูง และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต

ลักษณะชุมชนในท้องถิ่น

ประชากรส่นใหญมีลักษณะการกระจายตัวอยู่ในเขตเทศบาล ลักษณะของชุมชนในเขตเทศบาลนครลำปาง เก้ากลุ่มตามแนวริมฝั่งแม่น้ำวัง และเกาะกลุ่มหนาแน่นใน  4 บริเวณ ได้แก่

1.บริเวณภายในแนวคูเมืองฝั่งทิศใต้ เป็นย่านธุรกิจการค้าหลักของชุมชน

2.บริเวณหน้าสถานีรถไฟนครลำปาง เป็นย่านพาณิชกรรมและที่อยู่อาศัย

3.บริเวณฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำวัง ภายในคูเมืองบริเวณถนนบงสนุกและถนนรัษฎาภิเศกเป็นเขตที่พักอาศัย

4.ในเขตตำบลชมพู เป็นแหล่งอุตสาหกรรมเซรามิค และเป็นเขตที่พักอาศัย

สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ

ภูมิศาสตร์

สภาพภูมิประเทศ

เทศบาลนครลำปาง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในเขตชุมชนเมือง มีพื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 268.60 เมตร ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ และที่ราบลุ่มฝั่งแม่น้ำ ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของแอ่งกะทะ โดยมีพื้นที่ทางด้านเหนือของแม่น้ำวัง มีระดับสูงกว่าพื้นดินด้านทิศใต้และลาดเอียงสู่แม่น้ำวัง ซึ่งไหลผ่านกลางใจเมือง จากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้ แบ่งพื้นที่เป็น 2 ฝั่ง ฝั่งซ้าย ประกอบด้วย ตำบลสวนดอก ตำบลหัวเวียง ตำบลสบตุ๋ย ตำบลชมพู ตำบลพิชัย และตำบลพระบาท ฝั่งขวา ประกอบด้วย ตำบลเวียงเหนือ และตำบลบ่อแฮ้ว พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบดินตะกอนเก่าและที่ระดับตะกอนใหม่ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์และมีคุณภาพดี   เหมาะแก่การเพาะปลูก

เขตตำบลเวียงเหนือ และตำบลหัวเวีย ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งเมืองเก่า คือ เมืองเขลางค์นคร รุ่นที่ 1-รุ่นที่3 มีอายุเก่าแก่กว่า 1300ปี ปัจจุบันยังมีร่องรอยซากโบราณสถานให้เห็นทั่วไป เช่น เจดีย์ แนวกำแพงเมืองโบราณ และคูเมืองเก่า เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ

เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดลำปางมีลักษณะเป็นแอ่งก้นกะทะ จึงทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี ลักษณะภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มประมาณเดือนมีนาคม จนถึงเดือนพฤษภาคม อากาศจะอบอ้าวมากช่วงที่มีอากาศร้อนจัด คือ เดือนเมษายน

ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม

ฤดูหนาว เริ่มประมาณ เดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงที่มีอากาศหนาวจัด คือ เดือนมกราคม

 

สถิติปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (ในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2555)

 รายการ

 ปี พศ 2555

 ปริมาณน้ำฝนตลอดทั้งปี

 1176.8  มิลลิเมตร

 ปริมาณน้ำฝนสูงสุด

 115.9 มิลลิเมตร ( วันที่ 6 พค 55)

 ปริมาณน้ำฝนต่ำสุด

 0.0 มิลลิเมตร (เดือนพฤศจิกายน)

 จำนวนวันที่มีฝนตก

129 วัน

 อุณหภูมิสูงสุด

 39 องศาเซลเซียส ( วันที่ 26 เมย 55)

 อุณหภูมิต่ำสุด

 9.7 องศาเซลเซียส ( วันที่ 17 มค 55)

ในปี พศ 255 จังหวัดลำปาง มีปริมาณน้ำฝนสูงสุด 115 .9 มิลลิเมตร ในเดือนพฤษภาคม และมีปริมาณน้ำฝนต่ำสุด  0.0 มิลลิเมตร ในเดือนพฤศจิกายน อุณหภูมิสูงสุด  39  องศาเซลเซียส ในเดือน เมษายน  อุณหภูมิต่ำสุด 9.7 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม

การปกครองส่วนท้องถิ่น

การปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง การปกครองที่รัฐบาลกลางให้อำนาจ หรือกระจายอำนาจไปให้หน่วย การปกครองท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครองท้องที่และชุมชน โดยมีองค์กรรับผิดชอบ มีอิสระในการใช้ดุลยพินิจ มีเจ้าหน้าที่และงบประมาณในการดำเนินงานแยกออกจากราชการส่วนภูมิภาค แต่องค์กรปกครองท้องถิ่นก็มิได้มีอธิปไตยในตัวเอง ยังต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลางตามวิธีการที่เหมาะสม

การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระดับชาติ เพราะเป็นสถาบันที่ฝึกหัดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง การปกครองทำให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของท้องถิ่นอันเป็นที่อยู่ของตนเอง เกิดความหวงแหนและความรับผิดชอบ ต่อชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลให้ประชาชนมีความรู้สึกดีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การปกครองท้องถิ่นมีหลายูปแบบ แต่สอดคล้องกับการปกครองระดับชาติมากที่สุด คือ เทศบาล

หลักการ

เป็นองค์กรที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายมีขอบเขตการปกครองที่แน่นอน มีอำนาจอิสระในการบริหารงาน มีงบประมาณและรายได้เป็นของตนเอง คณะผู้บริหารองค์กรได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในท้องถิ่นนั้นทั้งหมดหรือบางส่วน

วัตุประสงค์ของการปกครองส่วนท้องถิ่น

• เพื่อประสิทธิภาพในการบริหาร

• ประหยัด

• แบ่งเบาภาระของรัฐบาลกลาง

• เป็นโรงเรียนฝึกหัดสอนประชาธิปไตยให้กับประชาชน

ความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่น

• ช่วยในการแก้ปัญหาของท้องถิ่น เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาดีที่สุดกว่าคนภายนอก

• ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง เท่ากับเป็นการฝึกฝนประชาชนได้เรียนรู้การปกครองในระดับชาติ

• แบ่งเบาภาระด้านการเงินและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่

• หากท้องถิ่นมีความมั่นคงแข็งแรงและมีเสียรภาพ ประชาชนย่อมมีความเชื่อมั่นต่อผู้บริหารฯ และมีความรับ

ผิดชอบต่อประชาชน

• นอกจากเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระรัฐบาลกลางแล้ว ยังเป็นการฝึกให้ประชาชนรู้จักการปกครองตนเอง

วัตถุประสงค์ในการควบคุม

• ป้องกันองค์กรท้องถิ่นบริหารงานผิดพลาด อาจมีผลกระทบต่อประเทศชาติ

• ให้มีการบิหารงานที่ได้มาตรฐาน

• ส่งเสิมการบริหารให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ

 

มาตรการในการควบุม

• โดยกฎหมาย

• โดยการตรวจสอบ

• โดยการยุบสภาท้องถิ่น

• โดยการจัดสรรเงินอุดหนุน

• โดยกำหนดระเบียบทางการคลัง

• โดยกระบวนการในการวางแผนให้สอดคล้องกับแผนชาติ

 

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล

เทศบาล เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบหนึ่งของไทย ปัจจุบันมีพระราชบัญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 เป็นกฎหมายแม่บทกำหนดให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้โดยแบ่ง เทศบาลเป็น 3 ประเภท คือ เทศบาลตำบลเทศบาลเมือง และเทศบาลนคร

การจัดตั้งเทศบาล

เทศบาลตำบล การยกฐานะท้องถิ่นใดขึ้นเป็นเทศบาลตำบล กฎหมายมิได้กำหนดจำนวนราษฎรและความหนาแน่นของราษฎรไว้แต่ประการใด เพียงแต่กำหนดไว้ ดังนี้ เป็นท้องถิ่นที่มีพลเมืองหนาแน่นพอสมควร มีรายได้เพียงพอแก่การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดไว้ ในทางปฏิบัติ ท้องถิ่นที่จะยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลนั้นมักจะได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลอยู่ก่อนแล้ว โดยกระทรวงมหาดไทยได้ตราพระราชบัญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 มีผลตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลทั้งหมด เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลทั้งหมด เทศบาลเมือง ท้องถิ่นใดที่ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองได้ จะต้องมีลักษณะ ดังนี้ ท้องถิ่นที่เป็นของศาลากลางจังหวัดทุกแห่ง ให้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์อื่น ๆ ประกอบ สำหรับท้องถิ่นที่มิใช่ที่ตั้งศาลากลางจังหวัด จะยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองได้ จะต้องประกอบ ด้วยลักษณะ ดังนี้ เป็นท้องถิ่นที่มีพลเมืองตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป มีรายได้เพียงพอแก่การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดไว้เทศบาลนคร ท้องถิ่นที่จะยกฐานะเป็นเทศบาลนครได้ จะต้องมีลักษณะ ดังนี้ เป็นท้องถิ่นที่มีพลเมือง ตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป มีรายได้เพียงพอแก่การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดไว้

การศึกษา ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม

เทศบาลนครลำปาง มีโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครลำปาง จำนวน 6 แห่ง ดังนี้

1.โรงเรียนเทศบาล1 (บ้านแสนเมืองมูล)

2.โรงเรียนเทศบาล 3 (บุญทวงศ์อนุกูล)

3.โรงเรียนเทศบาล4 (บ้านเชียงราย)

4.โรงเรียนเทศบาล5 (วัดศรีบุญเรือง)

5.โรงเรียนเทศบาล6 (วัดบำรวก)

6.โรงเรียนเทศบาล7 (ศิรินาวินวิทยา)

ทั้ง 6 โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นที่แตกต่างกัน กล่าวคือ

1.โรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอน ในระดับชั้นอนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 6 ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านแสนเมืองมูล) โรงเรียนเทศบาล 3 (บุญทวงศ์อนุกูล) และโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดบำรวก)

2.โรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอน ในระดัยชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล4 (บ้านเชียงราย) โรงเรียนเทศบาล5 (บ้านศรีบุญเรือง) และโรงเรียนเทศบาล 7 (ศิรินาวินวิทยา)

การศึกษา

Lampang City Municipality manages 6 schools:

  1. Municipal School 1 (Baan Sanmuangmul)
  2. Municipal School 3 (Buntawonganukul)
  3. Municipal School 4 (Baan Chiang Rai)
  4. Municipal School 5 (Baan Sriboonruang)
  5. Municipal School 6 (Wat Paruank)
  6. Municipal School 7 (Sirinawinwittaya)

 

All six schools provide different levels of education. In other words,

  1. Schools, which provide kindergarten curriculum up to grade 6, are Municipal School 1 (Baan Sanmuangmul), Municipal School 3 (Buntawonganukul), and Municipal School 6 (Wat Paruank).
  2. Schools, which teach kindergarten to grade 9, are Municipal School 4 (Baan Chiangrai), Municipal School 5 (Baan Sriboonruang), and Municipal School 7 (Sirinawinwittaya).
ประชากร

สถานที่สำคัญ

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดลำปางด้านตะวันตกเฉียงใต้ หลักเมืองทำ

ด้วยไม้สัก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยหลักที่หนึ่งสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2400 หลักที่

สอง พ.ศ. 2416 และหลักที่สาม พ.ศ. 2429 ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 เมื่อสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้น ได้นำ

หลักเมืองมาไว้ที่บริเวณหน้าศาลากลาง และได้มีการสร้างมณฑปครอบหลักเมืองทั้งสามในปี พ.ศ. 2511 เปิด

ทุกวันเวลา 06.00 - 17.00 น.

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดลำปาง อยู่ใกล้กับศาลเจ้าพ่อ

หลักเมือง ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดลำปาง อยู่ใกล้กับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ประดิษฐานอยู่ในมณฑปทรง

ไทยแบบจตุรมุข พระพุทธรูปสร้างด้วยโลหะผสมรมดำทั้งองค์ ปางสมาธิ ชาวบ้านเรียก หลวงพ่อดำ จัดสร้าง

โดยกรมการรักษาดินแดนเมื่อปี พ.ศ. 2511 มี 4 องค์ เพื่อนำไปประดิษฐานไว้ 4 ทิศของประเทศ โดยทางทิศ

เหนือได้นำมาประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดลำปาง นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะของ

ประชาชน ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ปิดทองเกือบทั้งองค์โดยสาธุชนที่มานมัสการ

สะพานนัษฎาภิเศกสะพานนัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว ตั้งอยู่ถนนรัษฎา เจ้าผู้ครองนครเป็นผู้ที่ตั้งชื่อจาก

พิธีเฉลิมฉลอง รัษฎาภิเศก สมัยรัชกาลที่ 5 สะพานรัษฎาเป็นสะพานร่วมสมัยกับยุคอารยธรรมรถไฟมีอายุผ่าน

สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มาแล้ว และรอดพ้นจากการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรมาได้ด้วยการทาสี

พรางตา และด้วยการอ้างว่าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชย์ทางยุทธศาสต์ของนางลูซี สคาร์ลิง อดีตผู้อำนวยการ

โรงเรียนวิชชานารี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกองทัพสัมพันธมิตรในขณะนั้น เป็นสะพานไม้เสริมเหล็กที่ชำรุดผุพัง จึงมี

การก่อสร้างใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2460 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความคงทนมากกว่าสะพานรุ่น

เดียวกันที่ไม่เหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน ที่บริเวณสะพานมีเครื่องหมายไก่ขาว และครุฑหลวงประดับไว้ตรงัหัว

สะพาน และก่อนถีงสะพานรัษฎาภิเศกมีตลาดรัษฎาเป็นตลาดเช้าที่ใหญ่ที่สุด

สะพานรัษฎาภิเศก

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ตั้งอยู่ที่ถนนสุชาดา ตำบลเวียงเหนือ เป็นวัดเก่าแก่และสวยงาม มีอายุนับ

พันปี เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) นานถึง 32 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1979 ถึง

ปี พ.ศ.2011 เหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่าวัดพระแก้วดอนเต้า มีตำนานกล่าวว่า พระมหาเถระแห่งวัดนี้ได้พบแก้วมรกตใน

แตงโม (ภาษาเหนือเรียกว่า หมากเต้า) และนำมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป แต่ต่อมาถึงได้อัญเชิญไปประดิษฐาน

ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงจนถึงปัจจุบัน

ปูชนียสถาที่สำคัญในวัดพระแก้วดอนเต้า ได้แก่ องค์พระบรมธาตุดอนเต้า พระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งบรรจุ

พระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า วิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ที่มีอายุเก่าแก่พอ ๆ กับวัดนี้ นอกจากนี้ยังมี

วิหารหลวง ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วิหารพระเจ้าทองทิพย์ สร้างโดยพระนางจามเที อายุกว่า

1,000 ปี เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์ ศิลปะสมัยเชียงแสน มณฑปหรือพญาธาตุ ศิลปะแบบพม่า วิหาร

ลายคำสุชาดาราม ฝีมือช่างเชียงแสน ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง โดยมีลวดลายทองประดับตามส่วนต่าง ๆ

งดงาม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเชียงแสน และยังมี พิพิธธัณฑสถานแห่งล้านนา อันเป็นแห่งรวบรวมศิลป

วัตถุแบบล้านนา เช่นสัตตตัณฑ์ เครื่องถ้วยกระเบื้อง พระพุทธรูป เป็นต้น

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

วัดปงสนุก

วัดปงสนุก ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านปงสนุก ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นวัดสำคัญคู่กับ

จังหวัดลำปาง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเจ้าอนันตยส ราชุตรของพระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชย (ลำพูน)

เสด็จมาสร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) เมื่อ พ.ศ. ๑๒๒๓ ซึ่งยังต้องอาศัยหลักฐานทางโบราณคีเพื่อยืนยันตาม

ความเชื่อ

อย่างไรก็ตามวัดปงสนุกถือแป็นวัดศูนย์กลางเมืองเขลางค์ยุคที่ ๒ ในสมัยล้านนา หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด

กล่าวถึงวัดปงสนุก ย้อนไปถึงปี พ.ศ. ๑๙๒๙ ในขณะนั้นใช้ชื่อ่อว่า “วัดเชียงภูมิ” เป็นสถานที่หมื่นโลกนคร ผู้

รักษาเมิองเขลางค์ใช้ตั้งรับทัพอยุธยาที่ยกขึ้นมาตีล้านนา ต่อมาอีก ๔๐๐ ปี วัดแห่งนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดปง

สนุก” โดยมีการแบ่งเป็นด้านเหนือและด้านใต้ ดังหลักฐานจากคัมภีร์ใบลานของวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน กล่าว

ถึงการฉลอง “วัดปงสนุกใต้” ในปี พ.ศ. ๒๓๕๒ และในปี พ.ศ. ๒๔๐๒ จากบันทึกของครูบาอาโนชัยธรรมจินดา

มุนีอดีตพระราชาคณะหัวเมืองได้กล่าวถึงการบูรณะภูเขาจำลอง วัดปงสนุกเหนือ หลังจากนั้นอีก ๒๗ ปี คือปี พ.ศ.

๒๔๒๙ ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดปงสนุกครั้งใหญ่ โดยทำการซ่อมพระเจดีย์ สร้างฉัตร ก่อซุ้มประตูโขง วิหาร

หลังมียอดหรือวิหารพระเจ้าพันองค์และจัดฉลอง โดยนิมนต์พระสงฆ์มารับไทยทานกว่า ๓๐๐ รูป

จากหลักฐานที่พบได้กล่าวถึงชื่อเดิมของวัดปงสนุกถึง ๔ ชื่อในเวลาที่แตกต่างกัน ได้แก่ วัดศรีจอมไคล,

วัดเชียงภูมิ, วัดดอนแก้ว, วัดพะยาว (พะเยา) สำหรับชื่อปงสนุกเป็นชื่อล่าสุดที่พบหลักฐาน อย่างน้อยตั้งแต่

พ.ศ. ๒๓๕๒ เมื่อเกือบ ๒๐๐ ปี่ที่ผ่านมาชื่อวัดพะยาว (พะเยา) และวัดปงสนุกเป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสต์

การอพยพผู้คนในเหตุการณ์ช่วงปี พ.ศ. ๒๓๔๖ ที่พญากาวิละได้ยกทัพเข้าโจมตีเมืองเชียงแสน ซึ่งเป็นที่ตั้งมั่น

ของพม่าและได้กวาดต้อนชาวเชียงแสน ซึ่งมีชาวบ้านปงสนุกลงมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เมืองลำปาง รวมไปถึงมีการ

อพยพคนเมืองพะยาว (พะเยา) หนีศึกพม่าลงมายังเมืองลำปางชาวปงสนุกเชียงแสนและชาวพะเยาได้ตั้งบ้าน

เรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวังแถบบริเวณวัดเชียงภูมิ โดยนำชื่อหมู่บ้านเดิมมาเรียกขานชุมชนแห่งใหม่ ต่อมาราว พ.ศ.

๒๓๘๖ เจ้าหลวมหาวงค์ได้ไปฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นใหม่ ครูบาอินทจักรพระอูปัชฌาย์ของคูบาอาโนชัยธรรม

จินดามุนีได้ชาวพะยาว (พะเยา) อพยบกลับคืนสู่บ้านเกิด คงเหลือเพียงพวก่ไม่ยอมกับและมารวมอยู่กับชาว

บ้านปงสนุก ชื่อวัดและชื่อหมู่บ้านจึงเหลือเพียงชื่อปงสนุกตราบเท่าทุกวันนี้

ผู้อาวุโสในุมชนเล่าว่าวัดปงสนุกตั้งอยู่ติดกำแพงเมืองเขลางค์ด้านในเป็นแนวคันดินและคูล้อมรอบ

อีกชั้น คูเมืองด้านหลังวัดมีความลึกมากและเต็มไปด้วยดอกบัว และนอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมในการขุดคันดินไปถม

ที่วัดบนที่ตั้งของวิหารพระเจ้าพันองค์ ด้วยเชื่อว่าหากไม่ขุดดินไปให้วัดบนน้ำจะท่วมบ้าน ซึ่งตรงกับการขุดคัน

ทางโบราณคดีบนม่อนดอยในเดือนพฤษภาคมี ๒๕๕๑ ที่พบชั้นของทรายที่นำมาจากแม่น้ำ ถมอยู่ภายใต้พื้น

ซีเมนต์บนลานพระธาตุลึกลงไปในราว ๓๐ เซนิเมตร แต่เมื่อขุดลงไปกว่านั้นกับพบว่าเป็นชั้นของอิฐที่เรียง

สลับกันลงไปกว่า ๗ เมตร ซึ่งเป็นการเปิดเผยเทคนิคการสร้างม่อนดอยด้วยอิฐของวัฒนธรรมล้านนาเป็นแห่ง

แรกของประเทศ ที่ด้านหน้าของวัดมีบึงน้ำขนาดใหญ่อยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำวังมากนัก และเป็นที่ตั้งของคุ้มเจ้า

ราชวงค์ และเจ้าแม่สุข ณ ลำปาง ในปัจจุบันที่ด้านหน้าวัดปงสนุก ได้มีสิ่งสำคัญคือต้นฉำฉาขนาดใหญ่อายุ

เกือบ ๑๕๐ ปี ซึ่งเรื่องเล่าว่า ครูบาธรรมชัยได้ธุดงค์ไปปักกลดใต้ต้นฉำฉาที่เชียงตุงในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ และได้เก็บ

ฝักมาเพาะเป็นต้นแล้วปลูกไว้ข้างหนองน้ำใหญ่หน้าวัด แม้ว่าปัจจุบันนสระกำน้ำดังกล่าวได้ถูกถมไปจนหมดสิ้นเหลือ

เพียงต้นฉำฉาที่เติบโตให้ร่มเงาแก่ชาวบ้านมาเป็นเวลานาน

ความรุ่งเรืองของวัดปงสนุกยังปรากฏอยู่ในงานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วัดเป็น

จำนวนมาก อาทิเช่น เจดีย์วิหารพระนอน และ “วิหารพระเจ้าพันองค์” วิหารโถงทรงจตุรมุขที่มีอายุกว่า ๑๒๐ ปี

ซึ่งมีรูปแบบงดงาม และเป็นแม่แบบให้อาคารหลังอื่นในประเทศไทย เช่น หอคำไร่แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

ปัจจุบันวัดปงสนุกยังเป็นแหล่งรวมศิลปวัตุนานัปการ ทั้งพระพุทธรูปไม้ ซึ่งพบภายในห้องใต้หลังคาของ

วิหารพระเจ้าพันองค์, ภาพพระบฎเขียนเรื่องพระเวสสันดรบนผ้าและกระดาษสา ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๒๐ ปี, หีบ

ธรรมโบราณ และธงช้างเผือกขนาดใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ซึ่งได้จัดแสดงงานที่พิพัธภัณฑ์หีบธรรมัตนานุรักษ์

อนุสรณ์ และพิพิธภัณฑ์หีบธรรมของวัดปงสนุก (ด้านเหนือ)

วัดปงสนุก

โครงการอนุรักษ์มรดกทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรมวิหารพระเจ้าพันองค์

เนื่องด้วยวิหารพระเจ้าพันองค์ได้ถูกสร้างมาเป็นเวลากว่า ๑๒๐ ปี จึงเกิดการชำรุดตามกาลเวลา ทางวัด

ปงสนุกจึงได้จัดทำ “โครงการอนุรักษ์มรดกทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรมวิหารพระเจ้าพันองค์” ตั้งแต่ พ.ศ.

๒๕๔๔ ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์การทำงานจากหลายฝ่าย ทั้งนักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา หน่วยงานราชการ

และองค์กรต่าง ๆ คณะสงค์ ช่างภาพ และผู้มีจิตศัทธาจำนวนมาก ทั้งนี้การบูรณะวิหารพระเจ้าพันองค์

วัตุประสงค์เพื่อการรักษาแบบแผน เทคนิควิธี และวัสดุฝีมือช่างตามแบบโบราณ การำงานกว่า ๔ ปี เป็นการ

ทำงานประสานร่วมมือระหว่างชุมชนปงสนุกและคณะทำงานอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรม ทั้งในส่วนที่เป็น

นามธรรมและรูปธรรมจนก่อให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น

- ศึกษาข้อมูลด้านประวัติศาสต์ สถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม คติความเชื่อ สภาพความเสียหาย

วัสดุ และแนวทางการบูรณะ

- ถ่ายภาพ ทำความสะอาด บันทึกรายละเอียด จัดทำทะเบียนโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่พบ ได้แก่ พระพุทธรูปไม้หีบ

ธรรม มณฑปปราสาท ภาพพระบฎ (ภาพเขียนบนผ้าและกระดาษสา) - ปรับปุงอาคาร จัดเป็นพิพิธภัณฑ์หีบ

ธรรมวัดปงสนุก (ด้านเหนือ) และพิพิธภัณฑ์หีบธรรม รัตนานุรักษ์อนุสรณ์วัดปงสนุก (ด้านใต้)

- อบรมเชิงปฏิบัติการการอนุรักษ์วิหารพระเจ้าพันองค์ โดยความร่วมมือของภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะสถาปัตยกรรมศาสต์ และมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปกร, โปรแกรมวิชา

สถาปัตยกรรมศาสต์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชัฎเชียงราย โครงการจัดตั้งสถาบัน

ศิลปะวัฒนธรรมล้านนา (ไต) มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา

- จัดนิทรรศการภาพถ่ายและเผยแพ่ผลงานการอนุรักษ์วิหารพระเจ้าพันองค์ สัญจรไปยัง จังหวัดต่าง ๆ ภายใต้

ชื่อโครงการ “ คนตัวเล็กกับการอนุรักษ์”

- การขุดสำรวจทางโบราณคดี เป็นต้น

ขณะเดียวกันยังได้รื้อฟื้นการจัดประเพณีและพิธีกรรมที่ทางวัดเคยปฏิบัติมา ซึ่งได้รับความสนใจทั้งภาค

รัฐและภาคเอกชน ทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัดเป็นอย่างมาก ปัจจุบันชุมชนบ้านปงสนุกได้ร่วมงานเครือ

ข่ายกับศูนย์โบราณคดีภาคเหนือ คณะสังคมศาสต์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการอนุรักษ์ศิลปกรรมของ

อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ก่อให้เกิดกระแสการตื่นตัวในการอนุรักษ์แก่คณะสงฆ์และชุมชนในจังหวัดลำปาง

อย่างมาก

ในปี ๒๕๕๑ “โครงการอนุรักษ์มรดกทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรมวิหารพระเจ้าพันองค์” ได้รับคัดเลือก

จาก ๔๕ โครงการ ใน ๑๓ ประเทศ ให้ได้รับรางวัล Award of Merit จากโครงการ 2008 Asiq-Pacific

Heritage Awards for Cultural Heritage Conservation จากองค์กร UNESCO นับเป็นความภูมใจให้ไม่

เพียงแต่ชุมชนปงสนุกเท่านั้น หากแต่เป็นความภาคภูมิใจให้แก่คนไทยทั้งประเทศ ในความพยายามรักษา

มรดกสถาปัตยกรรมของชาติ รวมถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่นับวันจะมีแต่เสื่อมสูญ ให้ไว้แก่อนุชนรุ่นหลัง

วิสัยทัศน์ อำนาจหน้าที่ พันธธิจ

วิสัยทัศน์ "นครน่าอยู่ ผู้คนเป็นสุข สังคมดีงาม มรดกวัฒนธรรมล้ำค่า"

อำนาจหน้าที่

ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2543) เทศบาล นครลำปาง

มีหน้าที่้ต้องทำในเขตเทศบาลดังนี้

• รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

• ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ

• รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการจำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

• ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

• ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง

• ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม

• ส่งเสิมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

• บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

• ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา

• ให้มีโรงฆ่าสัตว์

• ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้

• ให้มีและบำรุงทางระบายำ

• ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ

• ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงส่างโดยวิธีอื่น

• ให้มีการดำเนินกิจการโรงจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น

• ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก

• กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข

• การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่น

• จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม

• จัดให้และควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

• การวางผังเมือง และการควบคุมการก่อสร้าง

• การส่งเสริมกิจการการท่องเที่ยว

• นอกจากนี้ เทศบาลนคร อาจจำทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาลได้ ดังนี้

• จัดให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม

• ให้มีสุสานและฌาปนสถาน

• บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร

• ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล

• ให้มีการสาธารณูปการ

• จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา

• ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพละศึกษา

• ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

• ปรับปรุงแหล่งเสิ่อมโทรมและรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น

• เทศพาณิชย์

งบประมาณ

งบประมาณประจำปีของเทศบาลต้องตราขึ้นเป็นเทศบัญญัติ ถ้าเทศบัญญัติงบประมาณ ออกไม่ทันปีใหม่ ให้ใช้

เทศบัญญัติงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลาง ถ้าในปีใดจำนวนเงินซึ่งได้อนุญาตไว้ตามงบประมาณปรากฏว่า ไม่

พอสำหรับการใช้จ่ายประจำปีก็ดี หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งรายรับหรือรายจ่ายขึ้นใหม่ในระหว่างปีก็ดี ให้

ตราขึ้นเป็นเทศบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้กำหนดที่มาของรายได้

ของเทศบาลนครลำปาง ไว้ดังนี้

๑) ภาษีอากรตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้

๒) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอุญาต และค่าปรับ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้

๓) รายได้จากทรัพย์สินของเทศบาล

๔) รายได้จากการสาธารูปโภคและเทศพาณิชย์

๕) พันธัตร หรือ เงินกู้ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้

๖) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่าง ๆ

๗) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด

๘) เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้

๙) รายได้อื่นใดตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้

 

๑.รายรับ

จากการศึกษาข้อมูลในเทศบัญญัติ เทศบาลนครลำปาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๙ -๒๕๕๒ พบว่า รายรับของ เทศบาล

นครลำปาง ประมาณ ๔๐๐ กว่าล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่ยังมาจากเงินอุดหนุนของรัฐบาล รองลงมา คือ รายได้

จากภาษีที่รัฐจัดสรรให้ อย่างไรก็ตาม รายได้จากการจัดเก็บภาษีของเทศบาลนครลำปางประมาณ กว่า ๒๐๐

ล้านบาท ซึ่งแนวโน้มรายได้จากหมวดภาษีอากรน้อยลง ดังเช่น ในปี ๒๕๕๐ ประมาณการหมวดภาษีอากร ไว้ถึง

๒๑๖,๗๓๑,๐๐๐ บาท แต่มีรายรับจากหมวดภาษีอากร ๒๑๔,๒๙๖,๙๓๘.๒๐ บาท ในปี ๒๕๕๑ ประมาณการไว้

ถึง ๒๒๑,๖๓๐,๐๐๐ บาท แต่รายรับจากหมวดภาษีอากร เพียง ๒๐๔,๑๕๖,๐๑๙.๔๓ บาทเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่า

ประมาณการ ๑๐ ล้านกว่าบาท อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณารายละเอียดสัดส่วนรายได้จากหมวด ภาษีอากร พบ

ว่า สาเหตุรายรับในหมวดน้อยลงเนื่องจากสัดส่วนรายรับจากภาษีอากรที่รัฐบาลจัดสรรให้นั้นน้อยลง ประกอบ

กับเทศบาลนครลำปางไม่มีรายรับจากอากรการฆ่าสัตว์

งบประมาณด้านรายรับ เทศบาลนครลำปางประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๒

 

๒.รายจ่าย

การศึกษาข้อมูลในเทศบัญญัติ เทศบาลนครลำปาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๙ -๒๕๕๑ พบว่า รายจ่าย ของเทศบาล

นครลำปาง อยู่ระหว่าง ๓๐๐-๕๐๐ ล้านบาท รายจ่ายส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายในส่วนของเงินอุดหนุน ทั้งเงิน

อุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนทั่วไปที่ระบุวัตุประสงค์ จากเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ สัดส่วนงบประมาณในรายการ

บริการชุมชนและสังคมีสูงถึงกว่าร้อยละ ๖๐ และมีแนวโน้มที่เทศบาลจัดสรรให้สูงขึ้นนนอกจากนี้จะเห็นได้ว่า

รายจ่าย ในส่วนของการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนเทศบาลนครลำปางจัดสรรให้น้อยมากในปี ๒๕๔๙ มีเพียง

ร้อยละ ๐.๘๒ ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม รายจ่ายในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้น ในปี ๒๕๔๙ และ

ปี ๒๕๕๐ ซึ่งค่าใช้จ่ายในรายการบริการชุมชนและสังคมสัดส่วนส่วนใหญ่ตกอยู่ที่รายจ่ายต่องาน เคหะและ

ชุมชนสูงก่า ร้อยละ ๔๐ ในปี ๒๕๔๙ สูงถึง ร้อยละ ๔๕.๖๙ แต่รายจ่ายในส่วนนี้ลดลงตามลำดับ ในปี ๒๕๕๐ ปี

๒๕๕๑ และปี ๒๕๕๒

การจัดการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

สถิติอาชญากรรมในเขตเทศบาลนครลำปาง

จากรายงานสถิติคีอาญา ๕ กลุ่ม สภ.เมืองลำปาง ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน

ของประชาชนในเขตเทศบาลนครลำปาง พบว่ามีคดีที่เกิดขึ้นทั้งหมด ๒,๖๘๑ คดี เป็นคดีที่จับกูมได้ ๑,๐๐๔ ราย

และ ๑,๖๓๑ คน ตลอดจนมีคดีที่ตกค้างจำนวน ๓๒ ราย และ ๓๒ คน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ.๒๕๕๐ พบว่า

กลุ่มที่ ๑ คดีอุกฉกรร์สะเทือนขัญ ลดลง ๒ ราย ,

กลุ่มที่ ๒ คดีความผิดต่อชีวิต ร่างกาย เพศ เพิ่มขึ้น ๔ ราย,

กลุ่มที่ ๓ คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ เพิ่มขึ้น ๒๔ ราย,

กลุ่มที่ ๔ คดีที่น่าสนใจ เพิ่มขึ้น ๑๘ ราย

กลุ่มที่ ๕ คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย เพิ่มขึ้น ๔๔ ราย

<< สถิติคดีอาชญากรรม >>

กลุ่ม/องค์กรด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

กลุ่มหรือองค์กรด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนภายใต้การบริหารงาน และการสนับสนุน

ของเทศบาลนครลำปาง ประกอบไปด้วย ๒ กลุ่มคือ (๑) หน่วยอาสาสมัครป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือน ซึ่งอยู่ภาย

ใต้อำนาจการบริหารงานของเทศบาลนครลำปาง สังกัดงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ฝ่ายปกครอง

สำนักปลัดเทศบาลนครลำปาง (๒) มูลนิธิ อปพร.เทศบาลนครลำปาง เป็นองค์กรร่วมของเทศบาลนครลำปาง

ซึ่งเทศบาลนครลำปางดำเนินการสนับสนุนงบประมาณ อุดหนุนการบริหารและการปฏิบัติงานด้านความ

ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

๑) หน่วยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หรือ อปพร. มีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบ กระทรวงมหาดไทยว่า

ด้วยหน่วยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.๒๕๔๗ และอยู่ภายใต้การบริหารงาน สังกัดงานป้องกันและ

บรรเทาสาธารณภัย ฝ่ายปกครอง สำนักปลัดเทศบาลนครลำปาง โดยหน่วย อปพร. เทศบาลนครลำปางเริ่มก่อ

ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นรุ่นแรก จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ๑๘ ปี และปัจจุบันมีจำนวนเจ้าหน้าที่ อปพร. ทั้งหมด

๑,๒๑๙ คน ซึ่งได้รับงบประมาณประจำปี ๒๕๕๑ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ในการอบรม อปพร. จำนวน ๒๗ คน

และงบประมาณประจำปี ๒๕๕๒ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ในการอบรม อปพร. จำนวน ๕๐ คน ซึ่งการบริหาร

จัดการเป็นอำนาจหน้าที่ ของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลนคร

ลำปาง

๒) มูลนิธิ อปพร.เทศบาลนครลำปาง หลังจากที่เทศบาลนครลำปางดำเนินการอบรม อปพร. รุ่นที่ ๑ ถึง รุ่นที่ ๔

ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๓๖ และได้ดำเนินการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย แก่ประชาชนโดยไม่มีค่า

ตอบแทนหรือเงินช่วยเหลือต่างๆ จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๖ กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือ

ชมเชยการปฏิบัติงานของ อปพร.เทศบาลนครลำปาง ว่า “เป็นแบบอย่างที่ดี แสดงให้เห็นถึงความเสียสละ และ

ตั้งใจจริง อปพร. ทั่วไปควรถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน” หลังจากนั้นเทศบาลนครลำปางจึงอนุญาตให้ใช้

อาคารบริการประชาชน เป็นสถานที่ทำการศูนย์บรรเทา สาธารณภัยที่ ๓ และอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ/การ

บริหารงานของเทศบาลนครลำปาง และก่อตั้งเป็น “มูลนิธิ อปพร.เทศบาลนครลำปาง” เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์

พ.ศ.๒๕๓๗

สถานที่สำคัญ

สถานที่สำคัญ